ข้อบังคับ สมาคมศิษย์เก่าและครูโรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อบังคับ

สมาคมศิษย์เก่า และ ครู โรงเรียน กุหลาบวิทยา

หมวดที่ 1

ข้อบังคับทั่วไป

ข้อ1. สมาคมนี้มีชื่อว่า  สมาคมศิษย์เก่า และ ครู โรงเรียน กุหลาบวิทยา   มีชื่อย่อว่า สศค. กลว.   ภาษาอังกฤษว่า Kularbwittaya 's Alumni & Teacher Association   มีชื่อย่อว่า  KATA

ข้อ2. เครื่องหมายของสมาคมศิษย์เก่า และครู โรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อ2.1 เครื่องหมายของสมาคมมีลักษณะที่แบ่งออกได้ตามส่วนดังต่อไปนี้

ข้อ2.1.1คำว่า KATA  ส่วนบน สีทอง หรือ สีไหมเหลืองทอง

ข้อ2.1.2รูปโล่ ขอบเส้นคู่  และ  ภายในรูปโล่มีช่อดอกกุหลาบ  สีแดงเลือดหมู

ข้อ2.1.3ช่อชัยพฤกษ์  สีเขียวใบไม้ หรือ เขียวเข้ม

ข้อ2.1.4คำว่า  สมาคมศิษย์เก่าและครูโรงเรียนกุหลาบวิทยา  สีน้ำเงินเข้ม

ข้อ2.1.5ขอบรูปเส้นริบบิ้น เป็นสีแดงเลือดหมู  ภายในมีคำว่า 02 KULARBWITTAYA 'S  ALUMNI & TEACHER ASSOCIATION 45  สีทอง หรือ  สีไหมเหลืองทอง

ข้อ2.1.6 พื้นผิวผ้าของเครื่องหมาย  สีฟ้าอ่อน

ข้อ2.2 สมาคมฯ จัดทำตราอันเป็นเครื่องหมายของสมาคมฯ  เพื่อให้สมาชิก และ ผู้ที่สมาคมฯ เห็นสมควรได้ประดับในโอกาสที่เหมาะสม

ข้อ2.3การใช้เครื่องหมายของสมาคมฯ เพื่อประกอบในเอกสาร หรือ ใช้สำหรับประทับตราในการทำนิติกรรมใดๆ อันเกี่ยวข้องกับสมาคมฯ ให้ใช้สีเดียวโดยไม่จำเป็นต้องสอดสีดังกล่าว

รูปแบบเอกลักษณ์เครื่องหมายสมาคมฯ (ตรายาง)

ข้อ3.สำนักงานของสมาคมฯ  ตั้งอยู่   ณ. โรงเรียน กุหลาบวิทยา    เลขที่  ๑๓๓๔  ถนน โยธา  แขวงตลาดน้อย   เขตสัมพันธวงศ์   กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐

หมวดที่ 2

วัตถุประสงค์

ข้อ4 .สมาคมฯ นี้มีวัตถุประสงค์ คือ

ข้อ4.1  เพื่อส่งเสริม เสริมสร้าง บำรุง จรรโลง ความสามัคคี ความเข้าใจ มิตรภาพ  และ ขอความร่วมมืออันดี ระหว่างศิษย์เก่า  ศิษย์ปัจจุบัน คุณครู อาจารย์ สมาชิกในโรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อ4.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น  ความรู้  และ ประสบการณ์ระหว่างสมาชิก

ข้อ4.3  สนับสนุน อุดหนุน และช่วยเหลือให้ทุนแก่นักเรียน คุณครู อาจารย์ และสมาชิกในโรงเรียนกุหลาบวิทยาในช่วงประสบปัญหาชีวิต เช่น อคีภัย อุทกภัย อุบัติเหตุ โรคภัย  ความยากไร้และอื่นๆ  โดยคณะกรรมการสมาคมฯ เห็นสมควร

ข้อ4.4 ดำเนินการอื่นใดอันพึงกระทำเกี่ยวกับการกุศล และสาธารณะสังคมสงเคราะห์ที่คณะกรรมการสมาคมฯ เห็นสมควร

ข้อ4.5ให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลและจริยธรรม

ข้อ4.6ร่วมมือกับรัฐบาล องค์การ สมาคม บุคคล หรือ คณะบุคคลในอันที่จะส่งเสริม ให้นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนมีความรู้ ความประพฤติดี มีอนามัยแข็งแรง พร้อมที่จะเป็นพลเมืองดีของชาติสืบไป

ข้อ4.7 กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในการดำเนินการหาทุน  เพื่อเป็นทุนในการส่งเสริมการศึกษา การกีฬา และสวัสดิการต่างๆ ให้แก่นักเรียน คุณครู อาจารย์  และมวลสมาชิกของโรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อ4.8 แนะนำสมาชิกในการให้การศึกษาอบรมแก่นักเรียนนอกเวลาเรียน

ข้อ4.9 เพื่อสนับสนุน  การสร้างเครือข่าย เช่น เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายชุมชน เครือข่ายต้านยาเสพติด และอื่นๆ เป็นต้น ให้สอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาการศึกษา ของโรงเรียน

ข้อ4.10 แนะแนวการศึกษาและอาชีพแก่นักเรียน  รวมทั้งให้การติดต่อกับ สถาบันการศึกษา หรือ สำนักอาชีพอื่นใด  เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน  เมื่อถึงโอกาสที่พึงดำเนินการ

ข้อ4.11  แนะนำ การปกป้อง ดูแล  ภัยอันเกิดจากยาเสพติด แหล่งอบายมุขและภัยอันตราย   ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในโรงเรียน  ซึ่งมีผลกระทบต่อนักเรียน คุณครู อาจารย์ และสมาชิก  

ข้อ4.12 ดำเนินงานเพื่อ ส่งเสริม พัฒนา ประสาน ในด้านการศึกษา  การกีฬา  อุปกรณ์  สิ่งปลูกสร้างอาคาร  และ  อื่นๆ ให้สอดคล้องกับนโนบายของโรงเรียนฯ  แนวการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ทั้งนี้ยกเว้นบิลเลียด และ การพนันทุกชนิด)

ข้อ5.การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ  จะต้องสอดคล้องกับนโยบายของ  โรงเรียนโดยไม่ขัดต่อกฏหมายและไม่เป็นไปเพื่อพรรคการเมืองใด หรือ ลัทธิศาสนาใด

หมวดที่ 3

รายละเอียดสมาชิกของสมาคมฯ

ข้อ6.สมาชิกของสมาคมฯ  แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

ข้อ6.1สมาชิกกิตติมศักดิ์

ข้อ6.2สมาชิกสามัญ

ข้อ6.1สมาชิกกิตติมศักดิ์  ได้แก่ บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา  ผู้มีอุปการะคุณช่วยเหลือเกื้อกูลสมาคมฯ หรือ โรงเรียนกุหลาบวิทยา  ซึ่งคณะกรรมการสมาคมฯ ลงมติโดยเสียงข้างมากไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนกรรมการสมาคมฯ ทั้งหมด ได้พิจารณาเห็นสมควรเป็นสมาชิกของสมาคมฯ  และให้นายกสมาคมฯ มีหนังสือเรียนเชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ตามมตินั้น  และสภาพการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์เริ่มตั้งแต่วันรับแจ้งจากผู้เรียนเชิญเป็นลายลักษณ์อักษร

ข้อ6.2สมาชิกสามัญ ได้แก่ ศิษย์เก่า และ คุณครู ของโรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อ6.2.1ศิษย์เก่า หมายถึง นักเรียนที่เรียนจบ หรือ เคยเรียน หรือ จบตามขั้นตอนหลักสูตรของโรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อ6.2.2คุณครู หมายถึง  คุณครู หรือ อาจารย์ ที่เคยสอน หรือ ปัจจุบันสอนอยู่ในโรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อ7.สมาชิก ผู้สมัครสมาชิกจะไม่จำกัดเพศ  เชื้อชาติ  ศาสนา   ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

ข้อ7.1 เป็น หรือ เคยเป็นนักเรียน หรือศิษย์เก่า โรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อ7.2 เป็น หรือ เคยเป็นคุณครู และ อาจารย์ โรงเรียนกุหลาบวิทยา

ข้อ8.การเข้าเป็นสมาชิกสามัญ นั้น จะต้องแสดงความจำนงขอเข้าเป็นสมาชิกเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบของสมาคมฯ

เมื่อเลขานุการสมาคมฯ  ได้รับใบสมัครและตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้และไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอันเป็นที่รังเกียจของสังคม  เมื่อผ่านการพิจารณาจะประกาศรายชื่อของผู้สมัครไว้  ณ.สำนักงานของสมาคมฯ ไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน และจะมีผู้คัดค้านหรือไม่ก็ให้เลขานุการนำเสนอรายชื่อผู้สมัครให้คณะกรรมการสมาคมฯ พิจารณาอีกวาระหนึ่ง  มติที่ประชุมเป็นอย่างไรให้ถือเป็นเด็ดขาดและแจ้งให้ผู้สมัครทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันมีมติ

สมาชิกภาพของสมาชิกสามัญเริ่มเมื่อคณะกรรมการบริหารได้ลงมติให้เป็นสมาชิก และ ผู้สมัครชำระค่าลงทะเบียน  และค่าบำรุงประจำปีแล้ว

หากสมาชิกไม่ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมฯ ภายในกำหนด  ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก

หากสมาชิกชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมฯ ภายในกำหนด  แต่อยู่ในระหว่างปี หรือ กลางปี  หรือปลายปี อัตราค่าบำรุงสมาคมฯ นั้นถือเป็นการสิ้นสุดในปีนั้น ยกเว้นการเข้าเป็นสมาชิก  ที่ชำระเป็นตลอดชีพ และ มติที่ประชุมตามวาระของคณะกรรมการ

ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุง

ข้อ9.สมาชิกกิตติมศักดิ์  ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมฯ

ข้อ10.คุณครู หรือ อาจารย์ ในปัจจุบัน และ คุณครู หรือ อาจารย์ ที่เคยสอนในโรงเรียนกุหลาบวิทยา  เป็นสมาชิกสามัญโดยตำแหน่ง  ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงประจำปี  เว้นแต่จะแสดงความจำนงเป็นอย่างอื่น

ข้อ11.ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ  ผู้สมัครจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการสมัครคนละ ๒๐.๐๐ บาท (ยี่สิบบาทถ้วน)

ข้อ12.ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ  ผู้สมัครจะต้องเสียค่าบำรุงสมาคมฯ ปีละ ๕๐(ห้าสิบบาทถ้วน) หรือ ชำระครั้งเดียวตลอดชีพ ๕๐๐.๐๐ บาท  (ห้าร้อยบาทถ้วน)

ข้อ13.ค่าบำรุงถ้าไม่ชำระตลอดชีพ  สมาชิกต้องเริ่มชำระในเดือนมกราคมของทุกๆ ปีและให้มีผลสิ้นสุดภายใน ๓๑ ธันวาคม ของปีที่ชำระ พร้อมทั้งปิดยอดงบการเงิน, การบัญชี

ข้อ14.ให้ลงทะเบียนสมาชิก  ในสมุดทะเบียนสมาชิกโดยถูกต้องและเก็บรักษาไว้ในที่อันมั่นคง ณ. สมาคมฯ

หมวดที่ 4

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

ข้อ15.สมาชิกสามัญ มีสิทธิดังนี้

ข้อ15.1มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมฯ โดยเท่าเทียมกัน  เพื่อประโยชน์ในการกีฬาการบันเทิง การพักผ่อนหย่อนใจ หรือ เพื่อกิจการอื่นอันสมควร และไม่เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ  และต้องอยู่ภายใต้ระเบียบที่สมาคมฯ กำหนดไว้

ข้อ15.2มีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคมฯ ในโอกาสอันควร

ข้อ15.3 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญ  และประชุมใหญ่วิสามัญ ของสมาคมฯ

ข้อ15.4 มีสิทธิได้รับประโยชย์อันพึงได้และสวัสดิการต่างๆตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ

ข้อ15.5 มีสิทธิแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมฯ ต่อคณะกรรมการ

ข้อ15.6 มีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือ ได้รับการเลือกตั้ง หรือ แต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคมฯและ มีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมได้คนละ ๑ คะแนนเสียง

ข้อ15.7 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ  เพื่อขอตรวจสอบเอกสาร และบัญชีทรัพย์สินของสมาคมฯ

ข้อ15.8สมาชิกมีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย ๑ ใน ๕ ของสมาชิกทั้งหมด หรือ สมาชิกสามัญ จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน   ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการสมาคมฯ  ให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้

ข้อ16. สมาชิกกิตติมศักดิ์มีสิทธิเช่นเดียวกับสมาชิกสามัญ  เว้นแต่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง  หรือได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการสมาคมฯ และ กรรมการบริหาร

ข้อ17.   สมาชิกมีหน้าที่  ดังนี้

ข้อ17.1 เสียค่าบำรุงสมาคมฯ  ตามระเบียบของสมาคมฯ

ข้อ17.2 มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมฯ โดยเคร่งครัด

ข้อ17.3     มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติ และศักดิ์ศรี ที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ

ข้อ17.4 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาคมฯ

ข้อ17.5 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมฯ จัดให้มีขึ้น

ข้อ17.6 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมฯ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

ข้อ17.7 ห้ามนำชื่อของสมาคมฯ ไปแอบอ้าง หลอกลวง ข่มขู่ หรือใช้อภิสิทธิใดๆกล่าวอ้างต่อบุคคล สาธารณะ หรือ ชุมชน  หรือหน่วยงานอื่นๆ  เพื่อหาผลประโยชน์ให้ตนเอง

ข้อ17.8  ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมฯ   

ข้อ17.9    ช่วยเหลือและเข้าร่วมในกิจกรรมของสมาคมฯ  เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของ  สมาคมฯ

ข้อ17.10 เมื่อเป็นสมาชิกแล้ว ต้องมีจิตใต้สำนึกต่อการปฏิบัติงาน  การร่วมมือต่อกิจกรรมต่างๆ และ ต้องตระหนักว่า  การปฏิบัติงานทุกครั้งเป็นการเสียสละ การเงิน การงาน เวลา  โดยห้ามหาผลประโยชน์ให้ตนเอง ด้วยวิธีการใดๆ ที่จะก่อเกิดความเสียหายให้สมาคมฯ และบุคคลอื่น

หมวดที่ 5

ความสิ้นสุดจากสมาชิกภาพ

ข้อ18.    สมาชิกภาพจะสิ้นสุดเมื่อ

ข้อ18.1  ตาย

ข้อ18.2 ลาออก  โดยยื่นหนังสือ เป็นลายลักษณ์อักษรต่อ นายกสมาคมฯ หรือ กฏข้อ19.

ข้อ18.3  ไม่ชำระค่าบำรุงสมาคมฯ ๒ ปี  ติดต่อกัน และคณะกรรมการสมาคมฯ มีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ

ข้อ18.4 คณะกรรมการสมาคมฯ ลงมติไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกภาพในกรณีปรากฏแจ้งชัดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

ข้อ18.4.1 กระทำความผิดถึงต้องรับโทษจำคุก โดยพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก  เว้นแต่การกระทำความผิดนั้นโดยประมาทหรือความผิดฐานลหุโทษ

ข้อ18.4.2 ประพฤติในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ หรือประพฤติตนในทางที่นำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคมฯ อย่างร้ายแรง

ข้อ18.4.3 เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ  เป็นคนสาบสูญหรือเป็นบุคคลล้มละลาย    (สมาชิกผู้ที่คณะกรรมการมีมติให้พ้นสภาพ การเป็นสมาชิกของสมาคมฯ) ไม่มีสิทธิที่จะเข้าเป็นสมาชิกอีกจนกว่าจะพ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่พ้นสภาพการเป็นสมาชิกและถ้ามีความประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ให้ยื่นคำขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ต่อเลขานุการสมาคมฯ   และเมื่อได้รับคำขอเช่นนั้นแล้ว  ให้เลขานุการสมาคมฯ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการสมาคมฯพิจารณารับหรือไม่รับ  ในกรณีที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้คำขอนั้นเป็นอันตกไป  การยื่นคำขอเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ใหม่อีกครั้งต้องให้พ้นกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่สมาคมฯ พิจารณาไม่ยอมรับ

ข้อ19.ในการลาออกของสมาชิก ให้สมาชิกที่ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือลาออกต่อเลขานุการสมาคมฯ และขาดจากสมาชิกภาพ  เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ อนุมัติ

ข้อ20. เมื่อสมาชิกภาพของผู้ใดสิ้นสุดลง ผู้นั้นจะยกเอาเหตุการณ์นั้นมาอ้างสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายหรืออื่นใดจากสมาคมฯ หรือกรรมการบริหารไม่ได้

หมวดที่ 6

คณะกรรมการสมาคมฯ

ข้อ21. คณะกรรมการสมาคมฯ ทำหน้าที่บริหารงานสมาคมฯ ประกอบด้วยสมาชิกสามัญจำนวนไม่เกิน ๒๑ คน  โดยที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งเฉพาะ นายกสมาคมฯ และให้นายกฯ สรรหากรรมการจากสมาชิกที่ไม่ใช่ครู หรือ อาจารย์ในโรงเรียนจำนวน ๑๐ คน  และโรงเรียนสรรหาคณะกรรมการจากอาจารย์ หรือ ครูในโรงเรียนกุหลาบวิทยาจำนวน ๙ คน   แล้วนำเสนอชื่อที่ประชุมใหญ่ในวันเลือกตั้ง คณะกรรมการสมาคมฯ  เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสมาคมฯ ต่อไป

บุคคลที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการสมาคมฯ จะต้องอยู่ในที่ประชุมที่มีการเลือกตั้งมิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการสมาคมฯ

ให้คณะกรรมการสมาคมฯ ตามวรรคข้างต้น   เลือกตั้งกันเอง  ในบรรดาคณะกรรมการสมาคมฯ   เพื่อดำรงตำแหน่งอุปนายกคนที่ ๓  เลขานุการ เหรัญญิก สาราณียกร นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์  ประธานฝ่ายหารายได้  และตำแหน่งอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร (ยกเว้นตำแหน่งอุปนายกคนที่ ๑, ๒)ให้ที่ประชุมใหญ่สามัญเลือกผู้ตรวจสอบบัญชี ๑ คน และ ผู้ทำบัญชีมีเลขหมายขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ๑ คน

ข้อ21.1คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ต้องอยู่ในข้อกำหนดดังนี้

ข้อ21.1.1 บรรลุนิติภาวะ

ข้อ21.1.2 มีความประพฤติเรียบร้อย

ข้อ21.1.3 ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

ข้อ21.1.4 ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือ ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจำคุก  ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ

ข้อ22. ให้คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ทำบัญชี อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี   เมื่อครบกำหนดแล้ว  ให้คณะกรรมการบริหารชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารงานต่อไปจนกว่าคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ได้รับมอบหมายงานแล้ว

ข้อ22.1 วาระคณะกรรมการสมาคมฯ เริ่มนับตั้งแต่ ๑ พฤษภาคม  ถึง ๓๐ เมษายน

ข้อ22.2 คณะกรรมการสมาคมฯ  ต้องดูแลงบการเงิน และ งบดุล ของสมาคมฯ  พร้อมลงนามปิดยอดในสมัยที่ตนดำเนินการงานให้แล้วเสร็จก่อนการส่งมอบ

ข้อ22.3 การเลือกสรรหาคณะกรรมการสมาคมชุดใหม่ ให้เริ่มคัดเลือกช่วง กุมภาพันธ์ ก่อนหมดวาระ พร้อมเรียนเชิญสมาชิกสามัญทุกท่านเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญ รับรองวาระการประชุมตามรายละเอียด ข้อ๔๕.   เพื่อสรุปผลดำเนินการประจำปี และ สามารถส่งมอบแก่คณะกรรมการบริหารชุดใหม่  เมื่อสิ้นวาระของชุดเก่าในวันที่  ๓๐ เมษายน

ข้อ23.  เมื่อตำแหน่งกรรมการบริหารว่างลงก่อนถึงกำหนดเลือกตั้งใหม่  นายกสมาคมฯ ะแต่งตั้งสมาชิกเป็นกรรมการบริหารแทน  โดยอนุโลมผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งเท่าเวลาของกรรมการซึ่งตนแทน

หมวดที่ 7

อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ

ข้อ24.     หน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร

ข้อ24.1 นายกสมาคมฯ  เป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ  และ มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน  และลงโทษพนักงานของสมาคมฯ  ตามระเบียบข้อบังคับที่ได้ตราไว้  พร้อมเป็นตัวแทนสมาคมฯ ในการติดต่อกับบุคคลภายนอก

ข้อ24.2 อุปนายกสมาคมฯ  มีจำนวน และ หน้าที่ พอสังเขป ดังต่อไปนี้

ข้อ24.2.1 อุปนายกฯ คนที่ ๑   ผู้บริหารสูงสุดของโรงเรียน  เป็นโดยตำแหน่ง  เป็นผู้ช่วยเหลือ นายกสมาคมฯ ตามที่ได้รับมอบหมาย และ เป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมเมื่อนายกสมาคมฯ ไม่อยู่ หรือ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ในกรณีที่นายกสมาคมฯ  พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ด้วยเหตุใดๆ  ก่อนครบกำหนดตามวาระ  ให้คณะกรรมการสมาคมฯ แต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใด  ขึ้นเป็นนายกสมาคมฯ แทนจนหมดวาระของคณะกรรมการสมาคมฯ

ข้อ24.2.2 อุปนายกฯ คนที่ ๒   ผู้บริหารรอง หรือ การคัดสรรจากสมาชิกสามัญในส่วนของเก่า)  เป็นโดยตำแหน่ง  เป็นผู้ช่วยเหลือ  และ เป็นตัวแทนประสานงานหน่วยงานต่างๆ ภายใน และ ภายนอกสมาคมฯ  เพื่อให้เป้าหมายและกิจกรรมประสบผลสำเร็จ  พร้อมทั้งหน้าที่เป็นประธาน   เมื่อนายกสมาคมฯ  อุปนายกฯ คนที่ ๑ และ อุปนายกฯ คนที่ ๒ ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 

ข้อ24.2.3 อุปนายกฯ คนที่ ๓  การตั้งแต่งของนายกสมาคมฯ ในส่วนของสมาชิกสามัญ (ศิษย์เก่า)  เป็นโดยตำแหน่ง  เป็นผู้ช่วยเหลือ  และ เป็นตัวแทนประสานงานหน่วยงานต่างๆ ภายใน และ ภายนอกสมาคมฯ  เพื่อให้เป้าหมายและกิจกรรมประสบผลสำเร็จ  พร้อมทั้งหน้าที่เป็นประธาน   เมื่อนายกสมาคมฯ  อุปนายกฯ คนที่ ๑ และ อุปนายกฯ คนที่ ๒ ไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 

ข้อ24.3 เลขานุการ  มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารงานให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งของนายกสมาคมฯ เตรียมระเบียบวาระการประชุมจด และ รักษารายงานการประชุม  ทำจดหมายโต้ตอบ และมีหน้าที่รับผิดชอบปฏิบัติงาน ซึ่งมิได้จัดให้อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ใด หรือ ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการบริหารผู้ใดทำขึ้น

ข้อ24.4 เหรัญญิก  มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคมฯ เป็นผู้จัดทำ และ รับผิดชอบการทำบัญชีรายรับ  รายจ่าย บัญชีงบดุล บัญชีกระแสการเงิน  ทรัพย์สินของสมาคมฯ การเก็บเอกสารต่างๆ ของสมาคมฯ ไว้เพื่อตรวจสอบ    ดำเนินการทางด้านภาษีอากรให้ถูกต้องตามกฏหมาย  รวมดูแลเก็บรักษาเอกสารสิทธิ์สำหรับทรัพย์สินของสมาคมฯ

ข้อ24.5 นายทะเบียน  มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำและรักษาทะเบียนสมาชิก ในกรณีที่สมาชิกขอบัตรประจำตัว  ให้นายทะเบียนออกบัตรประจำตัวตามแบบ และ วิธีการที่คณะกรรมการบริหารกำหนดเห็นสมควร  พร้อมทั้งต้องตรวจสอบ  ทำทะเบียน  ดูแล  รักษา  ข้อมูลรายละเอียด  ซึ่งมีจำนวนถึง ๒ ส่วน ด้วยกัน คือ

1.-  ด้านคุณครู และ อาจารย์  อายุ  ประวัติทำงาน หน่วย ส่วน วิชา อื่นๆ  เป็นต้น

2.-  ด้านศิษย์เก่าที่จบการศึกษาในแต่ละรุ่น พร้อม เลขประจำตัวให้เป็นที่เรียบร้อย  ที่สามารถตรวจเช็คข้อมูลได้ทุกเวลา

ข้อ24.6 ปฏิคม  มีหน้าที่ต้อนรับแขก  ควบคุมดูแล  จัดสถานที่  ทำบัญชีเกี่ยวกับด้านพัสดุและ อำนวยการในการจัดงานต่างๆ ทั้งนอก และในสถานที่

ข้อ24.7 สาราณียการ  มีหน้าที่รับผิดชอบ และอำนวยการ พร้อมแผนงานการพัฒนาวิชาการศึกษา  การจัดอบรมนักเรียน  คุณครู  อาจารย์  สมาชิก ผู้ปกครอง ชมรม เครือข่ายต่างๆ  ตลอดการทัศนศึกษา ให้อยู่ในหลักสูตร  ความถูกต้อง ความปลอดภัย และ อื่นๆ

ข้อ24.8 ประชาสัมพันธ์  มีหน้าที่เผยแพร่กิจการ และชื่อเสียงเกียรติคุณ ของสมาคมฯ ให้สมาชิกและบุคคลโดยทั่วไปรู้จักแพร่หลาย  พร้อมทั้ง การดำเนินงานด้านนิตยสาร ข่าวสาร วารสารรายงานประจำปี  หนังสือชี้ชวน  การแนะนำ  โฆษก และ อื่นๆ

ข้อ24.9 ประธานฝ่ายหารายได้   มีหน้าที่จัดหารายได้เข้าสมาคมฯ

ข้อ24.10 กรรมการตำแหน่งอื่นๆ  ตามความเหมาะสม  ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้นโดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการข้างต้นแล้ว  จะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับกำหนดไว้  แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่ง  ก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง

ข้อ25.คณะกรรมการสมาคมฯ มีสิทธิเชิญสมาชิกให้เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาได้แต่ต้องไม่เกิน๑๐ คน  และมีอำนาจตั้งอนุกรรมขึ้นเพื่อประโยชน์ของสมาคมฯได้ ไม่จำกัดอัตรา (แต่ไม่มีสิทธิการออกเสียงในคณะกรรมการสมาคมฯ ในชุดจำนวน ๒๑ คน)

กรรมการที่ปรึกษาและอนุกรรมอยู่ในตำแหน่งเท่าระยะตามวาระของกรรมการบริหารสมาคมฯ  หรือในกรณีที่แต่งตั้งเพื่อกิจการใดโดยเฉพาะ  เมื่อหมดความจำเป็นในกิจการนั้นแล้วเสร็จ  ก็ให้สิ้นสุดไปตามกิจการนั้นก่อนครบตามวาระของคณะกรรมการบริหาร

                กรรมการที่ปรึกษาอาจเป็นบุคคลนอกก็ได้ แล้วแต่ลงมติในคณะกรรมการสมาคมฯ แต่ควรคัดสรรให้มีความรู้  ความสามารถ  มีช่วงเสียสละเวลา  การอุดหนุน  การสนับสนุน        

                อนุกรรมการควรจะเป็นสมาชิกในสมาคมฯ  เพื่อมาแบ่งภาระการทำงานและแนวทางให้บรรลุและวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ หรือ อาจเป็นคณะกรรมการในรุ่นเก่าที่เคยทำงานมาเป็นพี่เลี้ยงของคณะกรรมการในรุ่นปัจจุบัน

                ข้อ26.คณะกรรมการสมาคมฯ มีหน้าที่โดยทั่วไปในการบริหารควบคุมงานของสมาคมฯให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ข้อบังคับ  ระเบียบ และมติของที่ประชุมของสมาคมฯ

ข้อ27. คณะกรรมการสมาคมฯ มีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับ  และแก้ไข ของสมาคมฯตามวัตถุประสงค์หรือข้อบังคับของสมาคมฯ

                ข้อ28. นายกสมาคมฯ  จะดำรงตำแหน่งเกินกว่า ๒ วาระติดต่อกันไม่ได้

            ข้อ29. การพ้นตำแหน่งจากคณะกรรมการสมาคมฯ

                ข้อ29.1 ถึงคราวออกตามวาระ

                ข้อ29.2  ตาย

                ข้อ29.3 ลาออกและได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ แล้ว

                ข้อ29.4 ขาดจากเป็นสมาชิกภาพ

                ถ้าตำแหน่งกรรมการสมาคมฯ ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากออกตามวาระ  ให้คณะกรรมการสมาคมฯ  แต่งตั้งตามอัตราส่วนสมาชิกสามัญที่เห็นสมควร เข้าเป็นกรรมการสมาคมฯ แทนตำแหน่งที่ว่าง  และให้กรรมการสมาคมฯ  ที่เข้ารับตำแหน่งแทน  อยู่ในตำแหน่งเท่าระยะเวลาตามวาระ ของผู้ที่ตนแทน

            ข้อ30.  คณะกรรมการสมาคมฯ  อนุกรรมการ  กรรมการที่ปรึกษา  ผู้เชี่ยวชาญ กรรมการกิตติมศักดิ์  กรรมการบริหาร  ที่ได้รับแต่งตั้งให้ถือเป็นตำแหน่ง ที่ทรงเกียรติ  มีทั้งคุณวุฒิ  และวัยวุฒิไม่มีอัตราเงินเดือน  เบี้ยเลี้ยง  ค่าพาหนะ  หรือค่าตอบแทนอื่นใดจากทางสมาคมฯ

                ข้อ31.คณะกรรมการสมาคมฯ  ควรมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 6 ครั้ง  เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคมฯ  หรือ อาจมีการประชุมครั้งมากกว่าจำนวนข้างต้นก็ได้

                อนึ่งคราวใดที่นายกสมาคมฯ  เห็นว่าในการประชุมครั้งนั้น  ไม่มีเรื่องสำคัญหรือรีบด่วนที่จะเรียกประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ  ก็ให้นายกสมาคมฯ มีอำนาจสั่งงดการประชุมได้

                คณะกรรมการสมาคมฯ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ มีสิทธิร้องขอให้มีการประชุมกรรมการของสมาคมฯ  เพื่อพิจารณาข้อเสนอใดๆ  ก็ได้  และนายกสมาคมฯต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ตามคำร้องขอนั้นภายใน ๑๕ วัน  นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ

                ข้อ32.    ในการประชุมทุกครั้งควรมีคณะกรรมการสมาคมฯ บริหาร  ที่เข้าร่วมประชุมมี  จำนวนไม่น้อยกว่า  ๒ ใน ๓  ของทั้งหมด ๒๑ คน ( ไม่ต่ำกว่า  ๑๔  คน  ขึ้นไป ในแต่ละครั้งที่มีการ   ประชุม )  จึงถือเป็นองค์ประชุม  มติของที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ  และให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์เว้นแต่ที่ได้มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

กรรมการสมาคมฯ  คนหนึ่งมีสิทธิออกเสียงได้เพียง ๑ เสียงเท่านั้น  กรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน   ประธานที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ  จะเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ33.    การออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ให้ใช้วิธีชูมือ เว้นแต่กรรมการสมาคมฯ  ไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓  ร้องขอให้ลงคะแนนลับ

                รายงานการประชุมทุกครั้ง  ควรสรุปเรื่องราวให้ชัดเจน  มติการลงคะแนนเสียง  จำนวนเงินและโครงการที่อนุมัติ  หากระบุรายชื่อกรรมการเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วยต่อการประชุมในแต่ละครั้ง  ถ้าทำได้เป็นสิ่งสมบูรณ์มาก

หมวดที่ 8

การบริหารงาน  การเงิน และการบัญชี

 

ข้อ34. หนังสือสัญญานิติกรรมใดๆ  ที่ได้กระทำในนามของสมาคมฯ  จะมีผลผูกพันสมาคมฯ ก็ต่อเมื่อหนังสือสัญญาหรือนิติกรรมนั้นๆ  ไม่เป็นการขัดกับวัตถุประสงค์  ข้อบังคับ มติการประชุม และ ระเบียบของสมาคมฯ  และมีนายกสมาคมฯ  อุปนายกฯคนที่ ๑  และ เหรัญญิก  ร่วมกันลงนาม ในจำนวน ๒ ใน ๓ ท่าน  พร้อมกับประทับตราสมาคมฯ  และมีอำนาจการเบิก จ่าย ถอนเงินในธนาคาร และ การลงนามในเอกสารของสมาคมฯ   ในกรณีที่ นายกสมาคมฯ ติดภาระกิจ  ให้นายกสมาคมฯ มอบหมายให้  อุปนายกฯ คนที่ ๒  หรือ   อุปนายกฯ  คนที่  ๓   ดำเนินการแทน

                ข้อ35. การเงินของสมาคมฯ ให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการสมาคมฯ เห็นสมควรและ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของสมาคมฯ

            ข้อ36.  เงินของสมาคมฯ  ฝากไว้ในธนาคารใดธนาคารหนึ่งในนามของสมาคมฯ

                ข้อ37. นายกสมาคมฯ มีอำนาจสั่งการ หรือ จ่ายเงินของสมาคมฯ ในนามของสมาคมฯ ได้ไม่เกินครั้งละ ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  ถ้าเกินจำนวนดังกล่าว ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ  ( จำนวนเงินดังกล่าวใช้จ่าย   เรื่องเบ็ดเตล็ดการใช้สอย   เครื่องใช้สำนักงาน  ค่าอาหาร  ค่าเครื่องดื่ม งานศพสมาชิก งานสมาคมฯต่างๆ  อุปกรณ์ต่างๆ  และ อื่นๆ  ตามแต่เห็นควรของนายกสมาคมฯ  เป็นต้น  พร้อมต้องทำรายงานแจ้งต่อที่ประชุม  เพื่อให้ขอมติที่ประชุมรับทราบ และอนุมัติในแต่ละครั้งเป็นยอดสรุปรวม)

                ข้อ38.  ให้เหรัญญิกจัดให้มีสมุดบัญชีทางการเงินสมาคมฯ   พร้อมด้วยหลักฐาน และ ใบสำคัญในการรับ และ จ่ายเงินให้ถูกต้องหลักวิชาการบัญชี

                ให้เหรัญญิก  เก็บหลักฐานและใบสำคัญในการรับจ่ายเงินทุกฉบับเพื่อตรวจสอบ และควรมีสำเนารายละเอียดการอนุมัติการจ่ายเงินจากมติที่ประชุม

                ข้อ39. ให้ที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  และ ผู้ทำบัญชี ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์  ซึ่งมิใช่กรรมการของสมาคมฯ  เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีสมาคมฯ  จำนวน ๒ ท่าน

                ข้อ40. ให้เหรัญญิกจัดทำบัญชี  งบการเงิน  การรับจ่าย  และงบดุล ประจำปีของสมาคมต่อคณะกรรมการสมาคมฯ แล้วให้ผู้ทำบัญชีมีเลขทะเบียน ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตรวจสอบ และรับรองเพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี

                ข้อ41.  เหรัญญิก  เก็บรักษาเงินสดไว้ได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  เพื่อสะดวกแก่การจ่ายในกิจการประจำตามปกติได้

หมวดที่ 9

การประชุมใหญ่

ข้อ42.  ให้นายกสมาคมฯ จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ปีละ ๑ ครั้ง   ซึ่งมีการเรียกประชุมดังนี้

ข้อ42.1   ประชุมใหญ่สามัญ

ข้อ42.2  ประชุมใหญ่วิสามัญ

ข้อ43. องค์ประชุมใหญ่ประกอบด้วยสมาชิกสามัญ  ร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก หรือ ไม่น้อยกว่า ๕๐ คนจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม  ถ้าการประชุมใหญ่คราวใดมีสมาชิกไม่ครบ องค์ประชุมให้คณะกรรมการสมาคมฯ เรียกประชุมอีกครั้งภายใน ๑๕วัน  นับตั้งแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก   สำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้  ถ้ามีสมาชิกสามัญ  เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้  ให้ถือว่าครบองค์ประชุม 

                ข้อ44.    มติของที่ประชุมให้ถือตามเสียงข้างมาก  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

                ข้อ45. วาระการประชุมใหญ่สามัญ  มีดังต่อไปนี้

                ข้อ45.1 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว

                ข้อ45.2 คณะกรรมการสมาคมฯ  แถลงผลงาน

                ข้อ45.3 พิจารณารับรองงบดุล

                ข้อ45.4 เลือกตั้งคณะกรรมการสมาคมฯ  เมื่อถึงกำหนดออกตามวาระ

                ข้อ45.5 เลือกตั้งผู้ทำบัญชี  และ ผู้สอบบัญชี ประจำปี

                ข้อ45.6  เรื่องอื่น ๆ

                ข้อ 46. การประชุมใหญ่วิสามัญจะกระทำได้ เมื่อคณะกรรมการสมาคมฯ เห็นสมควร หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน (ตามรายละเอียดข้อ ๑๕.๘ ) ลงชื่อร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการสมาคมฯ   ก็ให้คณะกรรมการสมาคมฯ จัดการประชุมใหญ่ภายในกำหนด ๓๐ วัน  นับ แต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอนั้น

                การประชุมใหญ่วิสามัญให้ถือองค์ประชุมเช่นเดียวกับการประชุมใหญ่สามัญ

            ข้อ47.  การประชุมใหญ่ทุกครั้ง  นายกสมาคมฯ หรือ อุปนายกสมาคมฯ  เป็น ประธานที่ประชุม และ เลขานุการสมาคมฯ เป็นผู้จดรายงานการประชุม

                หากที่ประชุมมีมติอย่างใด ให้ถือว่าเป็นข้อผูกพันที่คณะกรรมการสมาคมฯ  จะต้องปฏิบัติตามที่มติลงคะแนนเสียงไว้

                ข้อ48. การนัดประชุมใหญ่สามัญหรือประชุมใหญ่วิสามัญ  เลขานุการต้องทำหนังสือเชิญไปยังสมาชิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน และประกาศไว้ ณ.ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมฯ ด้วย

                ข้อ49. ในการประชุมใหญ่สามัญมีสิทธิออกเสียงได้คนละ ๑ เสียงเท่านั้น

หมวดที่ 10

การแก้ไขข้อบังคับ

                ข้อ50. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมฯ   จะทำได้  โดยมติของที่ประชุมใหญ่ด้วยเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓  ของสมาชิกสามัญ  ที่เข้าประชุม  และองค์ประชุมต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญ หรือ จำนวนการเข้าประชุมไม่น้อยกว่า ๕๐ คน

หมวดที่ 11

การเลิกสมาคมฯ

                ข้อ51. สมาคมฯ นี้จะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกสามัญ ทั้งหมด  หรือ

            ข้อ52. คณะกรรมการสมาคมฯ คือ คณะกรรมการบริหาร จำนวน ๒๑ คน ในชุดปัจจุบันรวมกับจำนวนสมาชิกสามัญ รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า ๕๐ คน  สรุปยอดผลงานที่ดำเนินงานไม่สามารถกระทำต่อไป  เช่น  ปัญหาทางการเงิน   สภาวะเศรษฐกิจ  การสืบเนื่องของสมาคมฯ เป็นต้น หรือ

            ข้อ53. การดำเนินงานของสมาคมฯ  ขาดการส่งแสดงฐานะการเงิน ต่อ กรมสรรพากร  หรือ องค์กรของรัฐ และอื่นๆ  อันสืบเนื่องติดต่อกันนานเกินกว่า ๑๐ ปี ขึ้นไป  ถือว่าทางสมาคมฯ ได้ปิดลงด้วยตนเอง

                ข้อ54. เมื่อสมาคมฯ เลิก ในข้อ51. และ ในข้อ52. ได้ชำระบัญชีแล้ว  ถ้ามีทรัพย์สินอยู่เท่าใดก็ให้ตกเป็นของโรงเรียนกุหลาบวิทยา  เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ด้านสวัสดิการครูและนักเรียนภายในโรงเรียนกุหลาบวิทยา

                ข้อ55. หากเลิกในข้อ53.  ถ้ามีทรัพย์สินอยู่เท่าใด  ก็ให้ตกเป็นของโรงเรียนกุหลาบวิทยาเพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ด้านสวัสดิการครู และนักเรียน ในโรงเรียนกุหลาบวิทยา   โดยให้อำนาจผู้อำนวยการ หรือ ครูใหญ่ ที่มีอำนาจสูงสุด ๑ คน   ร่วมกับคณะกรรมการบริหารของโรงเรียนกุหลาบวิทยาจำนวน ๔ คน  รวมกันดำเนินการลงนามโอน ย้าย จำหน่าย จ่าย แจก แลก เปลี่ยน ซ่อม และ อื่นๆ ในทรัพย์สินดังกล่าวได้ทุกประการ

หมวดที่ 12

บทเฉพาะกาล

ข้อ56. ข้อบังคับฉบับนี้ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่สมาคมฯ  ได้รับอนุญาตให้จด ทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป

                ข้อ57. เมื่อสมาคมฯ ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากทางราชการ  ก็ให้ถือว่าผู้เริ่มการทั้งหมดเป็นสมาชิกสามัญป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ …